Iot (Internet of things) คืออะไร รู้ไว้ก่อนตกยุค

Iot (Internet of things) คืออะไร รู้ไว้ก่อนตกยุค

คำอธิบายที่ชัดเจนที่สุดของ Internet of Things คือ สิ่งของทุกอย่างบนโลกใบนี้ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลได้ ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่เม็ดยา กล้องบันทึกภาพ นาฬิกา หลอดไฟ รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องบิน โดยมีเป้าหมายว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันโดยมีมนุษย์เกี่ยวข้องน้อยที่สุด และทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างข้อมูลจากโลกดิจิทัลกับโลกทางกายภาพให้ใกล้ชิดกันที่สุด

อันที่จริงแนวคิดการสร้าง Smart Device เกิดขึ้นตั้งแต่ในยุค 1970 โดยมาจากแนวคิดที่ชื่อว่า Pervasive Computing ที่นักพัฒนาสมัยนั้นต้องการสร้างคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา รองรับข้อมูลได้หลาย Format และที่สำคัญคือสามารถส่งต่อหน้าที่ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ ตรงข้ามกับ Desktop Computing ที่เน้นการทำงานจบทุกขั้นตอนภายในเครื่อง เพราะข้อจำกัดทางกายภาพและระบบในเวลานั้น ส่วนคำว่า Internet of Things เป็นที่ยอมรับว่าเกิดขึ้นในปี 1999 โดย Kevin Ashton, Co-Founder ของ Auto-ID Labs MIT นำเสนอ Solution เชื่อมโยงสิ่งของด้วยคลื่นวิทยุระบุตัวตน (RFID) แก่บริษัท P&G แต่กลับใช้ชื่อในการนำเสนอว่า “Internet of Things” เพื่ออธิบายคุณสมบัติของเทคโนโลยีที่ทำให้สิ่งของแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เอง

Internet of Things ทำงานอย่างไร จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุค Digital Transformation

การทำงานของ IoT นั้นต้องเรียกว่าเป็น Ecosystem เลยทีเดียว เพราะหากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็จะเกิดความบกพร่องได้ ซึ่งองค์ประกอบของ IoT ปัจจุบัน ประกอบด้วย

  • Smart Device อุปกรณ์ที่มีหน้าที่เฉพาะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ตอบโจทย์การใช้ IoT โดยจำเป็นต้องมีส่วนประกอบอย่าง Microprocessor และ Communication Device อยู่ภายในเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข้อมูลที่ Smart Device ส่งมอบไปยังระบบ ไม่เพียงแต่ข้อมูลตามหน้าที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพของอุปกรณ์ด้วย ผู้ใช้จึงไม่ต้องเดินทางมาตรวจสอบอุปกรณ์ด้วยตัวเองเป็นประจำ
  • Cloud Computing หรือ Wireless Network สื่อกลางรับส่งข้อมูลจาก Smart Device ไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีทั้งการส่งข้อมูลผ่านระบบ Wireless ไปยังผู้ใช้และการส่งผ่าน Cloud Computer ซึ่งการส่งข้อมูลไปยัง Cloud ช่วยรองรับการใช้งาน Smart Device จำนวนมากกว่า ระยะทางไกลกว่า รวมถึงอาจมีการติดตั้งระบบแปลงการแสดงผลข้อมูลให้เหมาะกับผู้ใช้ในส่วนนี้ได้
  • Dashboard ส่วนแสดงผลและควบคุมการทำงานในมือของผู้ใช้ อยู่ในรูปของ Device หรือแอปพลิเคชันในคอมพิวเตอร์หรือ Smartphone ผู้ใช้จะดูข้อมูลที่ Smart Device ส่งมา ตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์และระบบ รวมถึงถ่ายทอดคำสั่งใหม่ไปยัง Smart Device จากส่วนนี้

ทั้ง 3 ส่วนจะต้องทำงานสอดประสานกันเพื่อให้ระบบทำหน้าที่ได้ลุล่วงและต้องทำได้เองโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้มีหน้าที่เพียงติดตั้งและซ่อมแซมอุปกรณ์ รับข้อมูล และอัพเดทการทำงานของ Smart Device ได้โดยตรงผ่าน Dashboard เท่านั้น

โดยคุณสมบัติที่สำคัญของ IoT ก็คือสามารถส่งต่อหน้าที่ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Smartwatch หรือ Smartband ที่เก็บข้อมูลสุขภาพเราส่งไปแสดงผลอย่างละเอียดบน Smartphone และ Sensor ต่างๆ ที่จับความผิดปกติและแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราเคยเห็นอยู่บ่อยๆ หรือคุ้นเคยกันดี แต่ความจริงแล้ว IoT ยังมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้อีกมากมายกว่าที่เราคิด

การใช้ประโยชน์จาก Internet of Things เพื่อทำให้หลายๆ อย่างง่ายยิ่งขึ้น

การที่เทคโนโลยีเป็นที่แพร่หลายนั้นไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว แต่เทคโนโลยีนั้นต้องส่งมอบประโยชน์ต่อชีวิตของพวกเราด้วย ซึ่ง Internet of Things ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ

  • รับส่งข้อมูลรูปแบบดิจิทัล ปัจจุบัน ข้อมูลดิจิทัลมีความจำเป็นมาก เพราะสามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ทันที ซึ่ง IoT มีคุณสมบัติด้านการเก็บข้อมูลทางภายภาพให้อยู่ในรูปดิจิทัลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว จึงนับเป็นประโยชน์อย่างมากในยุค Digital Transformation
  • แม่นยำ ใช้ได้ตลอดเวลา และส่งข้อมูลแบบ Real-Time ข้อมูลจาก IoT ไม่เพียงแต่เป็นดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วระดับ Real-Time มีความแม่นยำ และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ช่วยให้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ทันท่วงที
  • ลดภาระงานของบุคลากร ในอดีตการเก็บข้อมูลอาจต้องใช้คนเดินทางเข้าไปสอดส่องที่เครื่องมือเพื่อหาความผิดปกติ แต่ปัจจุบัน IoT ไม่เพียงแต่สอดส่องให้เราผ่าน Dashboard เท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้การหาความผิดปกติด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Artificial Intelligence ได้
  • ทำงานตรวจสอบในจุดที่คนเข้าไม่ถึง เราสามารถออกแบบ Smart Device ให้มีขนาดเล็กและทนทานเพื่อติดตั้งตามจุดที่คนเข้าถึงยากหรือในจุดที่มีอันตรายระหว่างดำเนินการได้ เช่น ภายในท่อส่งน้ำมัน หรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการต้องเข้าพื้นที่อันตรายเป็นประจำได้

ต้องถือว่า Internet of Things เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญมากในยุค Digital Transformation โดยปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ก็เริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องกับแวดวงต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจและสังคมบ้างแล้ว จะเป็นอย่างไรบ้าง และเติบโตไปแค่ไหนแล้ว รอติดตามได้ในบทความต่อๆ ไปของเราได

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า